คำสำคัญ: ซอพื้นบ้าน

ซอพื้นบ้านล้านนาในฐานะทุนความรู้ทางวัฒนธรรม: เครื่องมือสื่อสารเพื่อการทำงานเชิงพื้นที่

เรื่อง: นวลคำ ขะยอมแดง สุภาพชนคนเมือง ศิลปินพื้นบ้านเป็นทรัพยากรบุคคลผู้สั่งสมทุนทางวัฒนธรรมประจำถิ่นให้แฝงฝังไว้ในตนเอง ทุนวัฒนธรรมดังกล่าวนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความสามารถทางด้านสติปัญญาและความชำนิชำนาญที่ผ่านการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีแล้วในระดับหนึ่ง ขณะเดียวกันศิลปินพื้นบ้านด้านการขับร้องท่องลำนำเพลงปฏิพาทย์ ที่มีลักษณะคล้ายหมอลำในภาคอีสานเพลงอีแซวในภาคกลางหรือเพลงบอกในภาคใต้ คนภาคเหนือหรือคนล้านนา (ที่ไม่เพียงแค่เขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน หากแต่เป็นทุกๆ อาณาบริเวณทางวัฒนธรรมที่ “อู้กำเมือง กิ๋นลาบและฟังซอ” ที่เลยเข้าไปในบางพื้นที่ของภาคกลางตอนบน และข้ามพรมแดนไปยังบางพื้นที่ของประเทศเพื่อนบ้าน) ต่างได้เรียกขานพวกเขาเหล่านี้ว่าเป็น “ช่างซอ”...