คำสำคัญ: ผู้สูงวัย

‘สูงวัยล้นหลาม’ ภาคเหนือเผชิญวิกฤตสังคมสูงวัย Complete-Aged Society

‘การสูงวัยของประชากร’ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก และเป็นประเด็นที่รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ กำลังให้ความสนใจ ในขณะที่ประชากรโลกกำลังเพิ่มช้าลง จำนวนและสัดส่วนของประชากรสูงอายุกลับเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน ขณะที่ประชากรไทยโดยรวมมีอัตราลดลง แต่ในทางกลับกันประชากรผู้สูงอายุกลับมีอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยดัชนีการสูงอายุของไทยได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 82.6 ในปี 2557 เป็น 97...

ช่องว่างการเข้าถึงบริการของผู้สูงอายุ: ตอนที่ 2 ทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการถ้วนหน้า

จากที่ได้กล่าวมาในตอนที่ 1 ปัญหาของการขยายตัวของผู้สูงวัยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนส่งผลให้ระบบสาธารณสุขที่มีอยู่ต้องปรับตัวอย่างหนักเพื่อรองรับประชากรสูงวัย ตอนที่ 2 ผู้เขียนได้ไปสัมภาษณ์บุคลากรสาธารณสุข และผู้สูงอายุที่เข้ารับการบริการเพื่อดูว่าผู้สูงอายุใน จ.ลำปางจะสามารถเข้าถึงการดูแลรักษาได้อย่างไร อโนชา ทองกองทุน หัวหน้ากลุ่มงานประกันสุขภาพ โรงพยาบาลลำปาง ดูแลในเขตเมืองลำปาง และ รัชนี ศรเมียงคำ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ประจำคลินิกสูงอายุ...

ช่องว่างการเข้าถึงการรักษาพยาบาลของผู้สูงอายุ : ตอนที่ 1 เข้าสู่สังคมผู้สูงวัย สาธารณสุขไทยเตรียมความพร้อมหรือยัง?

สังคมไทยกำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงสำคัญ เมื่อประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์แล้ว (Complete Aged Society) หรือมีประชากรอายุมากกว่า 60 ปี มากกว่าร้อยละ 14 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้มีสัดส่วนระหว่างประชากรผู้สูงวัย: ประชากรวัยทำงาน เท่ากับ 1: 1.86 (ข้อมูลปี...

ลำปางขะไจ๋: ในวันที่ปัญหาสุขภาพจิตไม่ได้อยู่ไกลตัว

ปัญหาสุขภาพจิตกำลังเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่เริ่มถูกนำเสนอบนพื้นที่สื่อในระดับท้องถิ่นมากขึ้น ด้วยข้อมูลเชิงสถิติที่น่าสนใจจากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขพบว่า จำนวนผู้ป่วยจิตเวชทั่วประเทศไทยประจำปีงบประมาณ 2566 ทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกรวมทั้งสิ้น 4,603,186 คน เมื่อเจาะลึกข้อมูลดังกล่าวลงไปอีกจะพบสถิติที่น่าสนใจว่า จำนวนผู้ป่วยจิตเวชในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนซึ่งอยู่ในเขตสุขภาพที่ 1 สูงเป็นอันดับ 3 ของเขตสุขภาพทั้งหมด 13 เขต ซึ่งเป็นสถิติที่ทำให้ผู้เขียนต้องตั้งข้อสังเกตต่อไปว่า ทำไมสถานการณ์สุขภาพจิตในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนถึงเป็นเช่นนี้ ถ้าพูดถึงสถานการณ์ตามรายจังหวัดภาคเหนือในเขตสุขภาพที่...

สักไพรที่ใกล้ฝั่ง กับความหวังเปลี่ยน เบี้ย เป็น บำนาญ ผ่านรัฐธรรมนูญ

เรื่องและภาพ: ลักษณารีย์ ดวงตาดำ บำนาญกับรัฐธรรมนูญเกี่ยวข้องกันอย่างไร? ฟังเสียงนักประชาธิปไตยวัยเกษียณแห่งเมืองไม้สัก ที่เคยลงประชามติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 60 ด้วยความตื่นรู้ และในการเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมาได้เลือกพรรคฝั่งประชาธิปไตยที่เคยให้คำมั่นสัญญากับประชาชนไว้ว่าจะแก้ไขปัญหาปากท้องพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยความหวัง แม้พรรคที่เลือกจะได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล แต่ความหวังจะต้องพังทลายลงด้วยรัฐบาลรักษาการปัจจุบัน จากสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่แน่นอน นอกจากจะหมดหวังกับบำนาญถ้วนหน้า 3,000 บาท...

คนเฒ่าที่แพร่ ก็ต้องดูแลตัวเอง

เรื่องและภาพ: ลักษณารีย์ ดวงตาดำ “ประเทศไทย ‘กำลังเข้าสู่’ สังคมผู้สูงวัย” เป็นคำกล่าวที่ได้ยินมาตลอดระยะเวลาหลายปี แต่ไม่ใช่สำหรับจังหวัดเล็กๆ แห่งนี้ จังหวัดแพร่ อยู่ในสังคมผู้สูงอายุ อย่างเต็มรูปแบบแล้ว ข้อมูลจากรายงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน จังหวัดแพร่ ปี พ.ศ. 2565 โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดแพร่ พบว่า...