คำสำคัญ: ฝุ่นข้ามแดน

แผน ‘NAP’ เครื่องมือด้านสิทธิมนุษยชนดักจับฝุ่นพิษข้ามแดน

ในช่วงที่หลายพื้นที่ในประเทศไทยเผชิญกับปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน หลายคนมักโฟกัสไปที่ฝุ่นจากการเผาไหม้ตอข้าวโพด แต่แท้จริงแล้วยังมีอีกหนึ่งแหล่งกำเนิดฝุ่นพิษที่น่ากังวลไม่แพ้กัน นั่นคือฝุ่นจากโรงงานอุตสาหกรรม อาจกล่าวได้ว่าฝุ่นพิษจากไร่ข้าวโพดข้ามแดนเกิดขึ้นเป็นฤดู แต่ฝุ่นภาคอุตสาหกรรมเกิดขึ้นเกือบทั้ง 365 วัน ฝุ่นจากโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตที่หลากหลาย ทั้งการเผาไหม้เชื้อเพลิง การหลอมโลหะ การพ่นสี การผลิตปูนซีเมนต์ ฝุ่นเหล่านี้ไม่เพียงแต่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของประชาชนในบริเวณใกล้เคียงโรงงานแต่ยังสามารถฟุ้งกระจายไปไกล ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คนในวงกว้าง ฝุ่นจากโรงงานอุตสาหกรรมมักประกอบไปด้วยสารพิษอันตรายหลายชนิด...

วิกฤติการณ์ฝุ่น PM2.5 ระยะยาวของชีวิต สภาะวะการตายผ่อนส่ง ของคนภาคเหนือ

วิกฤตการณ์ทางสภาพอากาศที่เกิดขึ้นในภาคเหนือนั้น ไม่ว่าจะปีไหน ๆ ทุกคนจะต้องได้รับรู้ มีเสียงหรือคำวิจารณ์จากคนในพื้นที่ที่ต้องประสบกับปัญหาฝุ่นพิษดังกล่าวโดยตรง พื้นที่ของข่าวมีการนำเสนอปัญหาและนโยบายจากรัฐบาล หรือภาพเจ้าหน้าที่รวมไปถึงอาสาสมัครที่ดมควัน เสี่ยงชีวิตไปกับภารกิจดับไฟ จากที่กล่าวเบื้องต้นเราจะเห็นว่า วิกฤตการณ์ทางสภาพอากาศ หรือปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 นั้น ไม่ใช่เรื่องใหม่ ไม่ใช่การรับรู้ที่ผู้คนไม่สามารถจินตนาการได้ว่าฝุ่น PM2.5 คืออะไร...

ฝุ่นพิษข้ามแดนในห้วงยามที่ “ทุน” สยายปีก

การเปลี่ยนเข้าสู่เศรษฐกิจทุนนิยมในนามของเสรีนิยมใหม่ สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือการทำให้เอกชนเกิดแรงจูงใจเพื่อจะสามารถเข้าสู่การแข่งขันได้อย่างเสรีโดยปราศจากการผูกขาดโดยรัฐ จนเมื่อมีการเปิดให้ทุนสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี จึงนำไปสู่ปัญหาการย้ายถิ่นฐานของธุรกิจเพื่อหลีกเลี่ยงกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อโลกอย่างมหาศาล หนึ่งในปัญหาที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ คือ “ปัญหาหมอกควัน” หรือ “ฝุ่นพิษ” ในภาคเหนือของไทย วงจรอุบาทว์ของฤดูฝุ่นพิษวนเวียนกลับมาฉายซ้ำความทุกข์ทรมานให้กับประชาชนทุกปี แนวทางการแก้ไขที่ผ่านมาอาจไม่เพียงพอหากยังละเลยที่จะพูดถึงต้นตอที่แท้จริงของปัญหา ซึ่งฝังรากลึกจาก “การขยายตัวของทุน” ที่มุ่งเน้นการผลิตเพื่อแสวงหาความมั่งคั่งและผลกำไรสูงสุดอย่างไม่มีขีดจำกัดด้านพรมแดน โดยไม่ได้คำนึงถึงความอยู่ดีกินอิ่มของแรงงานหรือคุณภาพชีวิตของเพื่อนมนุษย์ รัฐเอื้อทุนข้ามพรมแดน:...