คำสำคัญ: ฝุ่นควันเชียงใหม่

วิกฤติการณ์ฝุ่น PM2.5 ระยะยาวของชีวิต สภาะวะการตายผ่อนส่ง ของคนภาคเหนือ

วิกฤตการณ์ทางสภาพอากาศที่เกิดขึ้นในภาคเหนือนั้น ไม่ว่าจะปีไหน ๆ ทุกคนจะต้องได้รับรู้ มีเสียงหรือคำวิจารณ์จากคนในพื้นที่ที่ต้องประสบกับปัญหาฝุ่นพิษดังกล่าวโดยตรง พื้นที่ของข่าวมีการนำเสนอปัญหาและนโยบายจากรัฐบาล หรือภาพเจ้าหน้าที่รวมไปถึงอาสาสมัครที่ดมควัน เสี่ยงชีวิตไปกับภารกิจดับไฟ จากที่กล่าวเบื้องต้นเราจะเห็นว่า วิกฤตการณ์ทางสภาพอากาศ หรือปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 นั้น ไม่ใช่เรื่องใหม่ ไม่ใช่การรับรู้ที่ผู้คนไม่สามารถจินตนาการได้ว่าฝุ่น PM2.5 คืออะไร...

เครือข่ายเลือกตั้งผู้ว่าฯเชียงใหม่ แถลงวิกฤตฝุ่น PM2.5 แนะรัฐแก้ปัญหา ตามพื้นที่-เร่งออก พ.ร.บ.อากาศสะอาด

9 เมษายน 2565 เวลา 13.00 น. ภาคีเครือข่ายเลือกตั้งผู้ว่าเชียงใหม่และภาคีเครือข่ายประชาชน ได้จัดเวทีหาทางออกและแภลงการณ์ “วิกฤตฝุ่นควันเชียงใหม่” ณ ห้องประชุมอาคารศิริพานิช เชียงใหม่ ภายในงานเริ่มด้วยการร่วมกันพูดคุยถึงต้นตอของปัญหา รวมถึงแลกเปลี่ยนสาเหตุตามข้อเท็จจริงที่ทำให้ยังไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ปัญหานี้ได้ รวมไปถึงคาดการสถานการณ์และทิศทางที่รัฐควรดำเนินงานต่อไปในอนาคต ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ ประธานคณะกรรมการอำนวยการสภาลมหายใจเชียงใหม่...

1.7 หมื่นล้าน แก้ฝุ่น ‘TDRI’ เปิดร่างฯงบแก้ PM2.5 ปี 67 ช้ำ 11 จังหวัดภาคเหนือได้งบไม่ถึง 2%

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2567 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) หรือ TDRI เผยแพร่บทความ ปัญหาฝุ่น PM2.5: แนวทางป้องกัน-ลดเผาในที่โล่ง และร่างพ.ร.บ.งบฯ 67 ที่เผยร่างงบประมาณในการจัดการปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 ในปี...

เมื่อฟ้าสีเทาหม่นหมดอำไพ คนจน (เมือง) จะอยู่กันอย่างไรในเวียงพิงค์

ในวันที่ 12 มีนาคม 2567 มีรายงานข่าวว่าโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีออกมายืนยันสถานการณ์ปัญฝุ่น PM2.5 ของจังหวัดเชียงใหม่ โดยระบุว่า “อากาศเชียงใหม่ปีนี้ดีกว่าปีที่แล้ว” ซึ่งเอาเข้าจริง ๆ แล้วประเด็นว่าอากาศเชียงใหม่ปีนี้จะดีขึ้นหรือแย่กว่าปีที่ผ่าน ๆ มา คงเป็นเรื่องที่ต้องพูดกันไปอีกนาน สำหรับประชาชนกลุ่มหนึ่ง การยืนยันดังกล่าวคงจะไม่ทำให้พวกเขาหายใจหายคอได้โล่งขึ้นแต่อย่างใด เพราะในความเป็นจริงแล้ว...

เครือข่ายฟ้องฝุ่นเหนือ ประกาศเชียงใหม่เขตมลพิษหลังไร้การเหลียวแลจากรัฐ

4 เมษายน 2567 เวลา 09.30 น. บริเวณหน้าคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เครือข่ายผู้ฟ้องคดีฝุ่นภาคเหนือ ร่วมกันแถลงประกาศให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นเขตมลพิษ หลังนายกรัฐมนตรีไม่ประกาศให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นพื้นที่ภัยพิบัติ รวมไปถึงคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ ยื่นอุทธรณ์ต่อคำตัดสินของศาลปกครองเชียงใหม่ หลังเครือข่ายฯ ได้ฟ้องคดีต่อนายกฯ และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ ซึ่งศาลปกครองได้มีคำสั่งให้ทำแผนตั้งแต่เดือนมกราคม...

หมอหม่องชวนประชาชน ‘งดหายใจ’ หลังค่าฝุ่นเชียงใหม่พุ่งอันดับ 1 ของโลก

3 เมษายน 2567 นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ อาจารย์คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้โพสต์ผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัวขอให้ประชาชน ‘งดการหายใจ’ จนกว่าคุณภาพอากาศจะดีขึ้น หลังค่าฝุ่น PM2.5 ในจังหวัดเชียงใหม่พุ่งสูงที่สุดในโลก โดยข้อมูลจากเว็บไซต์ CMU CCDC วันที่...

ฟังเสียงคนอยู่กับป่าในวันที่มาตรการแก้ไฟป่ากำลังแผดเผาผู้คน

วิกฤตฝุ่น PM2.5 ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ประชาชนในภาคเหนือต่างต้องเผชิญมาอย่างยาวนาน จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุข ในปี 2567 (ข้อมูล ณ วันที่ 13 มีนาคม 2567) คนภาคเหนือป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจถึง 298,689 ราย ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่ผู้ป่วยเกี่ยวกับทางเดินหายใจกว่า 33,783...

แพทย์ มช. ชี้วิกฤตฝุ่นภาคเหนือมีผู้ป่วยรักษาด้วยผลกระทบจาก PM2.5 ในปี 67 มากกว่า 2 เท่า

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2567 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เผยแพร่สารจาก ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ) นพ.บรรณกิจ  โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง วิกฤตหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือต่อสุขภาพประชาชน โดยมีเนื้อหามีดังนี้ จากสถานการณ์วิกฤตหมอกควันมลพิษทางอากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝุ่นที่มีอนุภาคเล็กกว่า 10 ไมครอน(PM10)...

’หวั่นกระทบสุขภาพระยะยาว‘ แพทย์ มช. ห่วงสถานการณ์ฝุ่นพิษเริ่มรุนแรง

6 มีนาคม 2567 เฟซบุ๊คเพจสภาลมหายใจเชียงใหม่ได้โพสต์คำสัมภาษณ์ของ รศ.นพ.อรรถวุฒิ ดีสมโชค หัวหน้าหน่วยวิชาระบบการหายใจ เวชบำบัดวิกฤตและภูมิแพ้ ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช. โดยระบุว่าจากการศึกษาของหน่วยวิชาโรคระบบการหายใจ เวชบำบัดวิกฤต และภูมิแพ้ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช....

“เชียงใหม่โมเดล” แนวทางใหม่ในการแก้ไขปัญหา pm 2.5 ในปี 2567

ในปี 2567 ทางจังหวัดเชียงใหม่ได้ปรับเปลี่ยนแนวทางและวิธีการปฏิบัติงานเพื่อการแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่น pm 2.5 จากเดิมที่ใช้แนวทางห้ามเผาเด็ดขาด (Zero Burning) เป็นหลัก มาสู่แนวทางใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการไฟ (Fire Management) แบบจริงจังมากขึ้น และเนื่องจากจังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดแรกที่ใช้แนวทางที่ต่างออกไปในหลายมาตรการ จึงถูกหลายส่วนเรียกว่า...