คำสำคัญ: มุสลิม

‘นายูไหลไปรามฯ’ การโบยบินอ(ยาก)จะกลับของแวรุงชายแดนใต้ ตอนที่ 2

สามคำนิยามชีวิตที่รามฯ  “ภาพฝัน”- “โอกาส” – “ภาพลวงตา” คือสามคำที่ฟิตรีนิยามชีวิตสิบปีที่รามคำแหง เขาอธิบายเพิ่มเติมว่า “ภาพฝัน” หมายถึงชีวิตที่ฝันอยากอยู่ในสังคมที่เจริญและพัฒนา “โอกาส” หมายถึงชีวิตที่มีโอกาสในหลากหลายด้าน “ภาพลวงตา” หมายถึงหากชีวิตอยู่อย่างไม่มีสติ จะหลงระเริงไปกับภาพลวงตา จนลืมตัวเองและลืมบ้านเกิดได้”  ด้านอามีเนาะบอกว่า “ดีเกินคาด” คือคำนิยามชีวิตที่รามคำแหงของเธอ เพราะเป็นสถานที่หล่อหลอมให้เป็นคนที่ดีขึ้น...

มองมลายูผ่านเสื้อผ้า ความแตกต่างไม่ใช่ปัญหา

กลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมในสามจังหวัดชายแดนใต้ส่วนใหญ่มีการแต่งกายด้วยชุดมลายูเพื่อแสดงอัตลักษณ์มลายู  ซึ่งในสายตาคนทั่วไปอาจจะมองว่าเป็นอนุรักษ์นิยม หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ผู้เขียนอยากชวนมารับฟังความคิดเห็นของคนมุสลิมในสามจังหวัดภาคใต้ เพื่อเข้าใจ และทลายชุดความคิดเก่าที่อาจเป็นข้อคลาดเคลื่อนนำไปสู่ความเข้าใจผิดจากความจริง จึงเป็นหน้าที่ของผู้เขียนที่ต้องอธิบายเท่าความรู้ ความสามารถที่มีอันนำไปสู่แนวคิดเชิงสังคม แน่นอนเรื่องราวที่ผู้เขียนได้จารึกเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่อาจสรุปได้ว่ามีแนวทางการปฏิบัติอย่างไรหรือมีแนวทางไหนดีที่สุด โดยปราศจากความสำคัญหรือแก่นเรื่องที่สามารถตกตะกอนทางความคิดให้ผู้อ่านได้ปรับเปลี่ยนมุมมองหรือสวมบทบาทเข้าถึงความรู้สึกของตัวละครผ่านบทสัมภาษณ์ คำว่า มลายู (Melayu) มีความหมายที่ซับซ้อนและปรับเปลี่ยนไปตามการตีความทำความเข้าใจ ตลอดจนช่วงเวลา บริบทที่แวดล้อมในแต่ละช่วงสมัย   ทั้งนี้...

‘นายูไหลไปรามฯ’ การโบยบินอ(ยาก)จะกลับของแวรุงชายแดนใต้ ตอนที่ 1

ชายหนุ่มพูดภาษามลายู หญิงคลุมฮิญาบ เดินขวักไขว่ไปมาสองข้างถนนในซอยรามคำแหง 53 ตัดสลับกับภาพร้านรวงที่ตั้งโต๊ะขายข้าวยำ ขนมจือปุ ขนมเจะเเมะ และรถมอเตอร์ไซค์จอแจสวมป้ายทะเบียนปัตตานี ยะลา หรือนราธิวาส เหล่านี้คือภาพฉากที่สามารถพบเจอได้เป็นปกติทุกครั้งที่เดินทางผ่านไปย่านหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง สะท้อนตัวตนของพื้นที่แห่งนี้ที่แม้ไม่ต้องป้องปากตะโกนบอกก็รู้ว่าต่างไปจากพื้นที่อื่น ๆ ของกรุงเทพฯ อยู่มาก การก่อตัวของ ‘ชุมชนมลายู’ กลางเมืองกรุงเทพฯ...