คำสำคัญ: เชียงราย

“มันจะดีขึ้นได้มันต้องเกิดจากการสนทนา” เปิด Dialogue ให้เชียงรายเคลื่อนเมืองด้วยข้อมูลกับ ‘เชียงรายสนทนา’

เรื่อง: วัชรพล นาคเกษม ภาพ: ปรัชญา ไชยแก้ว “เคลื่อนเมืองด้วยข้อมูล ผ่านเรื่องราวของผู้คน จากบทสนทนาเพื่อสร้างคลังความคิด” แม้จะยังยืนระยะมาไม่นานมาก แต่ที่ผ่านมาก็สร้างความน่าสนใจได้อย่างน่าตื่นเต้นกับ “เชียงรายสนทนา” สื่อสาธารณะท้องถิ่นที่บอกกับเราว่าไม่เน้นเร็ว ถ้าจะเสพอะไรเร็ว ๆ ไปที่อื่นได้เลย เพราะเราเน้นข้อมูล นั่งอยู่บ้านวิเคราะห์ข้อมูลน่าจะเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายสุด ที่สำคัญเลยคือเชียงรายสนทนา เคลื่อนไปด้วยกำลังเพียงหนึ่งคนถ้วนโดย เป๊ก-ธวัชชัย...

สืบสกุล กิจนุกร เปลี่ยนวิธีคิด ก้าวข้ามกับดักเขตแดนรัฐชาติและกระจายอำนาจ ปัญหา #น้ำท่วมเชียงราย

เรื่อง: ปุณญาพร รักเจริญ ถึงแม้สถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ในจังหวัดเชียงรายที่ผ่านมาขณะนี้ได้คลี่คลายลงอย่างต่อเนื่อง ประชาชนและอาสาสมัครเร่งทำความสะอาดฟื้นฟูเมืองหลังน้ำลด ถือได้ว่าเป็นวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติที่รุนแรงที่สุดในรอบ 40 ปี และได้สร้างความเสียหายอย่างหนักให้แก่ประชาชนทั้งร่างกายและทรัพย์สิน เมื่อวันที่ 18 กันยายนที่ผ่านมา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM รายงานว่า จังหวัดเชียงราย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ทั้งหมด 2 อำเภอ...

บทเรียนน้ำท่วมเชียงราย-เขื่อนกั้นน้ำโขงภัยธรรมชาติและฝีมือมนุษย์ชี้ระบบเตือนภัยรัฐล้มเหลว

เรื่อง: องอาจ เดชา หลังเกิดน้ำท่วมเชียงรายวิกฤติหนักในรอบหลายสิบปี เมื่อเกิดปรากฎการณ์โลกรวน ทำให้เกิดอิทธิพลพายุถล่มต่อเนื่อง ประกอบกับเมืองขยายตัว ทำให้สิ่งก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นอาคารบ้านเรือน ถนน สะพาน พอฝนตกหนัก ไหลบ่า ทำให้กลายเป็นสิ่งกีดขวางทางน้ำไหล รวมไปถึงกรณีการปล่อยน้ำจากเขื่อนกั้นน้ำโขงตอนบนของจีนลงมา ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ทำให้หลายพื้นที่หลายอำเภอที่ตั้งอยู่ริมน้ำโขง น้ำอิง...

จากน้ำท่วมถึงน้ำลดเชียงราย-เชียงใหม่ ‘เวลา’ สิ่งที่เราสูญเสียและต้องการมากที่สุด 

เรื่อง: กองบรรณาธิการ ความเสียหายจากวิกฤตการณ์อุทกภัยที่ในภาคเหนือที่เกิดขึ้นในช่วงเดือน ก.ย. - ต.ค. 67 สร้างความเสียหายวงกว้างในหลายพื้นที่ โดยจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายเป็น 2 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์นี้หนักมากที่สุดซึ่งผลกระทบมาถึงปัจจุบัน (7 พ.ย.67) ข้อมูลจากศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ฯ จังหวัดเชียงรายและ ปภ.จังหวัดเชียงใหม่รายงานว่ามีวิกฤตการณ์อุทกภัยในครั้งนี้สร้างความเสียหายต่อประชาชนประมาณ 1 แสนกว่าครัวเรือน...

ก๊อนเก๊าเล่าล้านนา: ชักแม่น้ำทั้งสายให้ไหลลงสู่น้ำแม่โขง : ว่าด้วยเรื่องทิศทางการไหลของน้ำในลุ่มน้ำแม่กก

เรื่อง: นวลคำ ขะยอมแดง สุภาพชนคนเมือง ความนำ “น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ”  ข้อความนี้สะท้อนกฎธรรมชาติว่าด้วยการไหลของน้ำที่เป็นไปตามแรงโน้มถ่วงของโลก ขณะเดียวกัน การไหลของน้ำตามแหล่งธรรมชาติอย่างลำธาร คลองหรือแม่น้ำก็เป็นอีกรูปแบบ ทิศทางและลักษณะของการไหลไปยังพื้นที่ต่าง ๆ อย่างมีความแตกต่างกัน  เงื่อนไขที่มีส่วนในการกำหนดการไหลของน้ำจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านภูมิประเทศของพื้นที่หรือถิ่นที่ต่าง ๆ อย่างเช่น สันปันน้ำ ความลาดเอียงของพื้นที่ ลักษณะหรือชนิดของดินในพื้นที่หรืออาณาบริเวณซึ่งได้รับอิทธิพลจากลักษณะการไหลของสายน้ำในแต่ละแห่งเรียกว่า “ลุ่มน้ำ” โดยชื่อของลุ่มน้ำต่าง...

ไม่ใช่แค่ความพร้อม แต่ต้องกระจายอำนาจ สำรวจความเห็น ‘เชียงรายเมืองศิลปะ’ หลังจบเบียนนาเล่

“เชียงรายเมืองแห่งศิลปะ” หลายคนคงคุ้นหูมาบ้างหากได้แวะเวียนมาที่นี่ ทั้งประวัติศาสตร์ที่มีมาอย่างยาวนานในการเป็นที่ตั้งของหิรัญนครเงินยางเชียงแสนนครหลวงก่อนการเกิดขึ้นของอาณาจักรล้านนา และภูมิศาสตร์ที่ผู้คนเคลื่อนย้ายข้ามแม่น้ำไปมาหาสู่กันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันบริเวณรอยต่อประเทศเมียนมา และ สปป.ลาว ในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ ทำให้พื้นที่นี่มีความไหลเวียนของวัฒนธรรมอยู่เสมอ รวมไปถึงเหล่าศิลปินที่มีอิทธิพลในวงการศิลปะไทย ปัจจัยเหล่านี้เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ประกอบสร้างให้จังหวัดเชียงรายเป็น ‘เมืองแห่งศิลปะ’ ได้ง่าย ๆ ซึ่งอีกหนึ่งเครื่องย้ำเตือนความเป็นเมืองแห่งศิลปะนั้นคือการที่ ยูเนสโก ได้ประกาศผลการรับรองเมืองสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ 55 เมืองทั่วโลก...

60 กว่าปีที่รอคอย ขบวนความหวัง รถไฟสายใหม่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ คุ้มไหมกับที่หวัง?

“เชียงรายจะมีรถไฟแล้ว” ประโยคขายฝันที่ฉันได้ยินตั้งแต่เด็กจนตอนนี้ใกล้จะเรียนจบมหาวิทยาลัยแล้วก็ยังไม่เคยเห็นรถไฟที่ว่านั้นสักที ด้วยภูมิประเทศอันประกอบไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน ที่ยากลำบากต่อการก่อสร้างและความคุ้มค่าต่อการลงทุน ทำให้เส้นทางรถไฟสายเหนือของไทยสิ้นสุดอยู่เพียงที่ชานชาลาเชียงใหม่มาอย่างยาวนาน  จากทางรถไฟที่เฝ้ารอมาหลายสิบปี ผู้เฒ่าหลายคนล้มหายตายจากไปทั้งที่ยังไม่ได้เห็นแม้ร่องรอย คำบอกเล่าว่าทางรถไฟจะผ่านบ้านเราแล้ว ประโยคดังกล่าวดูเหมือนจะเป็นจริง หลังสถานที่ต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเส้นทางรถไฟทางคู่สายใหม่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เริ่มการก่อสร้าง เปิดที่ดิน พร้อมเกรดปรับพื้นที่โครงการ คู่ขนานกับการเวนคืนที่ดินในขอบเขตโครงการ   เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เส้นทางรถไฟแห่งอนาคต โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาระบบรางภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย...

ร้อยเรียงเรื่องเชียงแสน:  บทสนทนาต่อ “ปฏิบัติการด้านศิลปะ” และ “ประวัติศาสตร์” ยวนย้ายถิ่น

มองศิลปะจัดวางและอ่านอย่างเข้าใจ “ไทยวนปิ๊กบ้าน: การสืบทอดและส่งต่อ” มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale Chiang Rai 2023 เป็นกิจกรรมเพิ่มพูนความร่วมมือจากเหล่าบรรดาเครือข่ายศิลปินและนักปฏิบัติการด้านศิลปะตั้งแต่ระดับท้องถิ่นเรื่อยไปจนถึงระดับนานาชาติที่มุ่งสร้างการตระหนักรู้ต่อประเด็นศิลปะวัฒนธรรมในสังคมร่วมสมัยที่นำไปสู่การขยายความรับรู้ให้กระจายไปสู่สาธารณชน มหกรรมด้านศิลปะนานาชาติที่ว่านี้จึงได้ทำหน้าที่เสริมสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มต่อศิลปะและวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงรายอันนับว่าเป็นการประกาศให้สังคมทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติทราบว่า “เชียงรายเป็นเมืองแห่งศิลปะ” (The City of Arts) งานดังกล่าวเกิดขึ้นภายใต้การสนับสนุนและส่งเสริมจากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม โดยมีการจัดงานขึ้นในรอบ...

ภาพเล่าเรื่อง: ท่าขี้เหล็ก เมืองที่เปลี่ยนแปลงไป

เมืองท่าขี้เหล็ก เป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในบริเวณชายแดนของรัฐฉาน ประเทศเมียนมา อยู่กับติดกับบริเวณพื้นที่ชายแดนอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย การข้ามแดนจะข้ามที่ด่านอำเภอแม่สาย โดยมีสะพานที่ข้าม “แม่น้ำสาย” ที่กั้นระหว่างสองประเทศ ในจุดแบ่งเขตพรมแดน คือ ประตูกลางสะพาน สิ่งแรกที่สามารถเห็นถึงความหลากหลายของกลุ่มคนในพื้นที่ชายแดนแห่งนี้ ในระหว่างทางข้ามแดนสังเกตได้ว่าป้ายโฆษณาโรงแรมทั้งสองข้างทาง ในป้ายโฆษณานั้นจะมีทั้งภาษาเมียนมาและภาษาอังกฤษ เมื่อข้ามมาถึงฝั่งจุดตรวจคนเข้าเมืองเมียนมา จะเห็นได้ชัดว่ามีรถจำนวนมากที่รอตรวจผ่านข้ามแดนทั้งขาเข้า และขาออก รวมไปถึงผู้คนที่เดินข้ามฝั่งกันไปมา ทั้งการข้ามมาซื้อขายสินค้าและข้ามมาของกลุ่มคนฝั่งไทยที่ข้ามมาทำงาน การข้ามแดนมาซื้อขายสินค้าฝั่งนี้ และเป็นจุดแวะสำคัญของนักท่องเที่ยว...

‘ท่าขี้เหล็ก’ เมืองที่เปลี่ยนแปลงไป

เมืองท่าขี้เหล็กและคนกลุ่มต่าง ๆ ก่อนการมาของจีนใหม่ เมืองชายแดนท่าขี้เหล็ก มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย จุดกำเนิดเกิดขึ้นจากการอพยพโยกย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานของผู้คนหลากหลายกลุ่ม นับตั้งแต่ขยายอำนาจของบรรดาเจ้านครรัฐในยุคก่อนอาณานิคม จนถึงยุคของการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมไปถึงในยุคของสงครามกลางเมืองในประเทศจีน ด้วยเหตุที่เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ชายแดนที่มีการอพยพไปมาของผู้คน ทำให้ประชากรของเมืองทั้งสองฟากฝั่งนั้นล้วนเป็นผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ เช่น ชาวไทย (คนเมือง) ไท อาข่า...

“พญามังราย” ถูกลดยศเป็น “พ่อขุนเม็งราย” เพราะระบอบอาณานิคมกรุงเทพ

เรื่อง: พริษฐ์ ชิวารักษ์ อันที่จริงแล้ว เรื่องนี้เป็นเรื่องที่พูดกันในวงวิชาการมาประมาณ 150 รอบแล้ว ถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นรณรงค์ทางสังคมก็หลายครั้ง แต่ในเมื่อยังไม่เป็นที่เห็นต้องกันทั้งหมดในสังคมวงกว้าง ก็คงต้องหยิบยกมาพูดเป็นรอบที่ 151 152 153... ต่อไป ทุกคนที่พอทราบประวัติศาสตร์ล้านนามาบ้างจะทราบดีว่าเมืองเชียงรายและเมืองเชียงใหม่นั้นถูกสถาปนาขึ้นโดยกษัตริย์ล้านนาองค์หนึ่งชื่อ “พญามังราย” ซึ่งกษัตริย์ผู้นี้ก็มักจะได้รับการยอมรับว่าเป็นปฐมกษัตริย์แห่งล้านนา ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเป็นกษัตริย์องค์แรกในแผ่นดินล้านนา เพราะพญามังรายนั้นก็สืบสายวงศ์กษัตริย์ผู้ครองเมืองเชียงลาวและเมืองเงินยางมาตั้งแต่...

อาทิตย์อัสดงตรงฝั่งแม่สาย อรุณรุ่งตะวันฉายในท่าขี้เหล็ก : เท็กซัสลุ่มน้ำแม่สาย มุมไบขนาดย่อส่วน 

เรื่อง: ธนพงษ์ หมื่นแสน “….ฟากฟ้ายามเย็นเห็นแสงรำไรอาทิตย์จะลับโลกไปพระจันทร์จะโผล่ขึ้นมาหมู่มวลวิหคเหินลมอยู่กลางเวหาจะหลับคืนสู่ชายคาชายป่าคือแหล่งพักพิง.…” ผู้เขียนมุ่งใช้ข้อความสี่บรรทัดนี้ ทำหน้าที่แทน “ตัวอักษรที่มีเสียง” ซึ่งใครหลายคนคงพอที่จะฮึมฮำร่ำร้องได้ในใจหรือสามารถเปล่งคำและความออกมาเป็นเสียงที่แสนไพเราะเสนาะโสต แม้เนื้อความของบทเพลง “แม่สาย” ได้เคยขยายและยังคงฉายภาพถึงเรื่องราวชีวิตของเด็กหญิงสาวที่ถูกพรากจากหมู่บ้านฐานถิ่นเพื่อเดินทางไกลไปเป็นเสมือนดั่งเช่นนกน้อยที่รอคอยวัน “กลับมาแค่ทันพระสวด” ทว่าความเจ็บปวดรวดร้าวของเนื้อหาในบทเพลงๆ นี้ ก็คงจะถูกแทนที่ด้วยพรรณนาโวหารที่เตะใจต้องอารมณ์ความรู้สึกของผู้คนทั่วไปอยู่ไม่น้อย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้วงเวลาที่ผู้เขียนกำลังตกอยู่ในอารมณ์และห้วงเวลาแห่งการดื่มด่ำร่ำรสคราฟต์เบียร์พื้นถิ่นยี่ห้อหนึ่งอยู่ตรงคาเฟ่ริมฟุตบาท ณ ฝั่งตรงข้ามปากทางขึ้นวัดพระธาตุดอยเวาอันเป็นพื้นที่ชุมทางแหล่งการค้าของผู้คนในท้องที่ของเมืองแม่สาย ถัดจากโค้งคุ้งชุมทางแหล่งการค้าแถบที่ว่านี้เลยไปอีกนิด...