คำสำคัญ: แม่สาย

จากน้ำท่วมถึงน้ำลดเชียงราย-เชียงใหม่ ‘เวลา’ สิ่งที่เราสูญเสียและต้องการมากที่สุด 

เรื่อง: กองบรรณาธิการ ความเสียหายจากวิกฤตการณ์อุทกภัยที่ในภาคเหนือที่เกิดขึ้นในช่วงเดือน ก.ย. - ต.ค. 67 สร้างความเสียหายวงกว้างในหลายพื้นที่ โดยจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายเป็น 2 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์นี้หนักมากที่สุดซึ่งผลกระทบมาถึงปัจจุบัน (7 พ.ย.67) ข้อมูลจากศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ฯ จังหวัดเชียงรายและ ปภ.จังหวัดเชียงใหม่รายงานว่ามีวิกฤตการณ์อุทกภัยในครั้งนี้สร้างความเสียหายต่อประชาชนประมาณ 1 แสนกว่าครัวเรือน...

ก๊อนเก๊าเล่าล้านนา: ว่าด้วยสถานการณ์ “น้ำท่วมแม่สาย” : จุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์ของร่องน้ำและลำน้ำแม่สายในฐานะเส้นเขตแดน

เรื่อง: นวลคำ ขะยอมแดง สุภาพชนคนเมือง ปริมาณสะสมของน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศที่มีมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกรกฎาคมผสานกับอิทธิพลของพายุยางิในทะเลจีนใต้ที่แผ่เข้ามากคลุมในพื้นที่ดังกล่าวส่งผลให้พื้นที่ตามภูเขามีการสะสมปริมาณน้ำเรื่อยมา จนกระทั่งช่วงหลังต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมาล่าสุดนี้ได้มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องเหนือพื้นที่ต้นน้ำของแม่น้ำแม่สายในเขตประเทศเมียนมาซึ่งพื้นที่ป่าต้นน้ำของแม่น้ำสายดังกล่าวนั้นเกิดจากบริเวณสันเขาอีกด้านหนึ่งของดอยนางนอนและดอยตุงซึ่งอยู่ในเขตประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งภูเขาอีกฟากฝั่งหนึ่งของแม่น้ำในเขตประเทศเพื่อนบ้านเช่นกันซึ่งพื้นที่ป่าในบริเวณดังกล่าวนี้ได้ถูกแผ้วถางทำลายกลายเป็นทั้งพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่สำหรับอยู่อาศัยที่ก่อตัวขึ้นมาเป็นชุมชนขนาดย่อมเมื่อไม่นานมานี้ ตลอดจนกลายเป็นพื้นที่ปศุสัตว์และเกษตรอุตสาหกรรมสำคัญของนายทุนอย่างไร่ข้าวโพด สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนี้ชี้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์จากที่ดิน (Land Used) ในประเทศเพื่อนบ้านที่มีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายไพศาลในรอบหนึ่งถึงสองทศวรรษที่ผ่านมา แน่นอนว่าคำอธิบายที่มีต่อความเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ที่กล่าวมานี้อาจปฏิเสธไม่ได้ที่จะกล่าวโทษถึงการแผ่ขยายอิทธิพลของทุนข้ามชาติและบรรษัทข้ามชาติจากทั้งประเทศจีนและประเทศไทยที่ส่งผลให้พื้นที่ป่าต้นน้ำสายได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านพื้นที่จากป่าต้นน้ำมาสู่ไร่ข้าวโพดและสวนยางพารา  รวมทั้ง การสัมปทานขุดเปิดพื้นที่หน้าดินเพื่อให้มีการทำอุตสาหกรรมเหมืองแร่ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์จากที่ดินเหนือพื้นที่ผืนป่าต้นน้ำในเขตประเทศเพื่อนบ้านอันเป็นอาณาบริเวณที่อยู่นอกเหนือการกำกับควบคุมด้านกฎหมายป่าไม้และสิ่งแวดล้อมจากรัฐบาลไทย นี่จึงเป็นสาเหตุต้นทางที่สำคัญอันส่งผลให้ปริมาณน้ำที่สะสมในดินตามพื้นที่ที่ควรจะเป็นป่าต้นน้ำที่มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นไร่ข้าวโพดและสวนยางพาราได้ทะลักล้นจากล้ำห้วยสาขาต่าง ๆ...

ภาพเล่าเรื่อง: ท่าขี้เหล็ก เมืองที่เปลี่ยนแปลงไป

เมืองท่าขี้เหล็ก เป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในบริเวณชายแดนของรัฐฉาน ประเทศเมียนมา อยู่กับติดกับบริเวณพื้นที่ชายแดนอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย การข้ามแดนจะข้ามที่ด่านอำเภอแม่สาย โดยมีสะพานที่ข้าม “แม่น้ำสาย” ที่กั้นระหว่างสองประเทศ ในจุดแบ่งเขตพรมแดน คือ ประตูกลางสะพาน สิ่งแรกที่สามารถเห็นถึงความหลากหลายของกลุ่มคนในพื้นที่ชายแดนแห่งนี้ ในระหว่างทางข้ามแดนสังเกตได้ว่าป้ายโฆษณาโรงแรมทั้งสองข้างทาง ในป้ายโฆษณานั้นจะมีทั้งภาษาเมียนมาและภาษาอังกฤษ เมื่อข้ามมาถึงฝั่งจุดตรวจคนเข้าเมืองเมียนมา จะเห็นได้ชัดว่ามีรถจำนวนมากที่รอตรวจผ่านข้ามแดนทั้งขาเข้า และขาออก รวมไปถึงผู้คนที่เดินข้ามฝั่งกันไปมา ทั้งการข้ามมาซื้อขายสินค้าและข้ามมาของกลุ่มคนฝั่งไทยที่ข้ามมาทำงาน การข้ามแดนมาซื้อขายสินค้าฝั่งนี้ และเป็นจุดแวะสำคัญของนักท่องเที่ยว...

‘ท่าขี้เหล็ก’ เมืองที่เปลี่ยนแปลงไป

เมืองท่าขี้เหล็กและคนกลุ่มต่าง ๆ ก่อนการมาของจีนใหม่ เมืองชายแดนท่าขี้เหล็ก มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย จุดกำเนิดเกิดขึ้นจากการอพยพโยกย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานของผู้คนหลากหลายกลุ่ม นับตั้งแต่ขยายอำนาจของบรรดาเจ้านครรัฐในยุคก่อนอาณานิคม จนถึงยุคของการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมไปถึงในยุคของสงครามกลางเมืองในประเทศจีน ด้วยเหตุที่เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ชายแดนที่มีการอพยพไปมาของผู้คน ทำให้ประชากรของเมืองทั้งสองฟากฝั่งนั้นล้วนเป็นผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ เช่น ชาวไทย (คนเมือง) ไท อาข่า...

อาทิตย์อัสดงตรงฝั่งแม่สาย อรุณรุ่งตะวันฉายในท่าขี้เหล็ก : เท็กซัสลุ่มน้ำแม่สาย มุมไบขนาดย่อส่วน 

เรื่อง: ธนพงษ์ หมื่นแสน “….ฟากฟ้ายามเย็นเห็นแสงรำไรอาทิตย์จะลับโลกไปพระจันทร์จะโผล่ขึ้นมาหมู่มวลวิหคเหินลมอยู่กลางเวหาจะหลับคืนสู่ชายคาชายป่าคือแหล่งพักพิง.…” ผู้เขียนมุ่งใช้ข้อความสี่บรรทัดนี้ ทำหน้าที่แทน “ตัวอักษรที่มีเสียง” ซึ่งใครหลายคนคงพอที่จะฮึมฮำร่ำร้องได้ในใจหรือสามารถเปล่งคำและความออกมาเป็นเสียงที่แสนไพเราะเสนาะโสต แม้เนื้อความของบทเพลง “แม่สาย” ได้เคยขยายและยังคงฉายภาพถึงเรื่องราวชีวิตของเด็กหญิงสาวที่ถูกพรากจากหมู่บ้านฐานถิ่นเพื่อเดินทางไกลไปเป็นเสมือนดั่งเช่นนกน้อยที่รอคอยวัน “กลับมาแค่ทันพระสวด” ทว่าความเจ็บปวดรวดร้าวของเนื้อหาในบทเพลงๆ นี้ ก็คงจะถูกแทนที่ด้วยพรรณนาโวหารที่เตะใจต้องอารมณ์ความรู้สึกของผู้คนทั่วไปอยู่ไม่น้อย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้วงเวลาที่ผู้เขียนกำลังตกอยู่ในอารมณ์และห้วงเวลาแห่งการดื่มด่ำร่ำรสคราฟต์เบียร์พื้นถิ่นยี่ห้อหนึ่งอยู่ตรงคาเฟ่ริมฟุตบาท ณ ฝั่งตรงข้ามปากทางขึ้นวัดพระธาตุดอยเวาอันเป็นพื้นที่ชุมทางแหล่งการค้าของผู้คนในท้องที่ของเมืองแม่สาย ถัดจากโค้งคุ้งชุมทางแหล่งการค้าแถบที่ว่านี้เลยไปอีกนิด...

แม่สาย ไร้จุดความร้อน ฝุ่นกลับปกคลุมทั่วอำเภอ

26 เมษายน 2566 แม้ฝุ่นควันแม่สายจะเริ่มจางลง แต่ปัญหาฝุ่นควันจะวนเวียนกลับมาในทุก ๆ ปีของเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา ทางเทศบาลตำบลแม่สายจึงร่วมกับกรีนพีซ ประเทศไทย, อบจ.เชียงราย, ห้องเรียนสู้ฝุ่น, สภาลมหายใจเชียงราย, ชมรมผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล...