คำสำคัญ: ไร่หมุนเวียน

‘ห้วยหินลาดใน’ เปิดบ้านรับ รมว.วัฒนธรรม-กมธ.ชาติพันธุ์ฯ สะท้อนปัญหาป่าทับคน หาแนวทางคุ้มครอง ‘ไร่หมุนเวียน’ 

ภาพ : ปวรณ์รัชดล พุ่มเจริญ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2567 สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วย ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ได้ลงพื้นที่ชุมชนปกาเกอะญอบ้านห้วยหินลาดใน...

สกน.ลำปาง ชุมนุมหน้าศาลากลาง ยื่นผู้ว่าฯ – จี้ป่าไม้ ‘ยุติการตรวจสอบแปลงไร่หมุนเวียน’

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 เวลาประมาณ 13.30 น. สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือจังหวัดลำปางนัดหมายรวมตัวกัน ณ ปั๊มปตท. ข้างศาลากลางจังหวัดลำปาง สืบเนื่องจากวันที่ 13 มิถุนายน 2567 เจ้าหน้าที่หน่วยฟื้นฟูสภาพป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่โป่งที่ 6...

ต่า โอะ มู วิถีชีวิตปกาเกอะญอ

เรื่องราววิถีชีวิตกับไร่หมุนเวียน ความเชื่อ วัฒนธรรม ของคนในพื้นที่หมู่บ้านสบลาน ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านรูปภาพขาวดำ ต้นสะดือ ต้นไม้แห่งชีวิต ต้นสะดือ คือ ต้นไม้ที่มีสะดือของเด็กปกาเกอะญอในวัยแรกเกิดผูกเอาไว้  โดยต้นไม้จะถือเป็นตัวแทนของเด็กคนนั้น ตัดไม้ทำลายชีวิต ชาวปกาเกอะญอเชื่อว่า การตัดต้นสะดือจะทำให้คนที่ผูกสะดือไว้ต้องเจ็บป่วยหรือมีเคราะห์ร้าย ถือเป็นหนึ่งกุศโลบายในการอนุรักษ์ป่าของชาวปกาเกอะญอ ใช้ป่าอย่างรู้ค่า ชาวปกาเกอะญอบ้านสบลาน จำกัดพื้นที่ป่าสำหรับใช้สอย  เป็นการเลือกใช้ทรัพยากรอย่างพอดีและรู้คุณค่า เคารพบูชา ชาวปกาเกอะญอบ้านสบลาน ให้ความสำคัญกับป่า ด้วยความเชื่อว่าทุกสรรพสิ่งล้วนมีเจ้าของ  ดังนั้นการกระทำใด ๆ...

‘นิเวศเกษตร’ ผุดไอเดียเปลี่ยนข้าวโพดเชิงเดี่ยวเป็นเกษตรเชิงนิเวศ แก้ปัญหาฝุ่นภาคเหนือ

จากสถานการณ์ฝุ่นภาคเหนือในปัจจุบันนั้นเรียกได้ว่าย่ำแย่ส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นจำนวนมาก หลายจังหวัดในภาคเหนือติดอันดับค่าฝุ่นควันสูงที่สุดในโลกไม่เว้นแต่ละวัน หน่วยงานภาครัฐยังมีวิธีการแก้ปัญหาฝุ่นแบบขาดความรู้ความเข้าใจในวิถีของเกษตรกรรายย่อยและการทำไร่หมุนเวียนของชาติพันธุ์ รวมไปถึงการขยายตัวของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ในพื้นที่ภาคเหนือและประเทศเพื่อนบ้าน เพจ นิเวศเกษตร Biodiversity and Agroecology เผยแนวทางในการนำหลักการนิเวศเกษตรและเกษตรเชิงนิเวศเข้ามาจัดการที่เกษตรกรรายย่อยและชุมชนมีส่วนร่วม โดยได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังนี้ ปัญหาฝุ่นพิษจากการเผาในพื้นที่เกษตรจากการขยายตัวของการปลูกข้าวโพดเพื่อป้อนอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เข้าไปในพื้นที่ป่าและพื้นที่เกษตรกรรมแบบดั้งเดิม กลายเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนอย่างกว้างขวาง เกษตรกรรายย่อยซึ่งเป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งของระบบจากการผลักดันของบริษัทก็ได้ผลตอบแทนเพียงน้อยนิด เมื่อหักต้นทุนเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย สารเคมีการเกษตร...

ชาวบ้านแม่กลางยื่นข้อเสนอแก้ไขฝุ่นควันและไฟป่า ย้ำรัฐต้องมีนโยบายดูแลป่าที่ชัดเจน

“ผู้ออกนโยบายก็ไม่เห็นมาอยู่กับเราแบบนี้ เขาก็ไม่รู้สึกอะไรกับเรามากเท่าไร นโยบายห้ามเผา แต่เขาก็เผากันหมดแล้ว ตอนนี้ผมพยายามอยู่เฝ้าระวังและสกัดไม่ให้ไฟมันลามถึงในเขตของเรา พี่น้องเอ๋ย ช่วยกันภาวนาให้มันดับไวๆ นะครับ” ไฟเปลวแล้วเปลวเล่าเกิดขึ้นและแผดเผาสรรพสิ่งในผืนป่าใหญ่ ในขณะที่เสียงตามสายของหมู่บ้านป่าวประกาศเรียกระดมพลเร่งด่วน เมื่อทราบว่าค่ำคืนนี้ไฟที่ไหม้จากนอกชุมชนเริ่มเข้าใกล้ขอบเขตการจัดการทรัพยากรของหมู่บ้านเข้าเรื่อยๆ ลมยังคงกระพือพัด ไฟยังคงลุกโชน เสียงฝีเท้าของผู้คนในผืนป่ายังคงดำเนินไป เสียงหารือถึงแนวทางการควบคุมไฟยังเล็ดลอดให้ได้ยิน สมชาติ รักษ์สองพลู ในนามผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5...

ชาวบ้านสะท้อนปัญหามาตรการจัดการไฟ-PM 2.5 ภาคเหนือและพากรมควบคุมมลพิษลงพื้นที่ดูไร่หมุนเวียน

31 มกราคม 2566 เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2565 เวลา 16.00 น. ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ พร้อมด้วยมูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ มูลนิธิธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ลงพื้นที่ชุมชนปกาเกอะญอบ้านสบลาน...