คำสำคัญ: 14 ตุลา

“ถ้าไม่ไป ก็เสียชาติเกิด” Side Story 50 ปีนักเรียนภาคเหนือกับประชาธิปไตยในเดือนตุลา

เรื่อง: วัชรพล นาคเกษม ภาพ: ปรัชญา ไชยแก้ว เรานัด ‘สุทธิศักดิ์ ปวราธิสันต์’ ที่สวนอัญญา เฮือนครูองุ่น มาลิก หอประวัติศาสตร์ประชาชนภาคเหนือ สถานที่ที่เต็มไปด้วยความทรงจำของผู้คนหลายช่วงวัยมาร่วม 50 ปี จนถึงวันนี้สวนอัญญายังคงทำหน้าที่เป็นทั้งสถานที่จัดกิจกรรมทางสังคม รวมไปถึงการเป็นที่นัดพบปะมิตรสหาย โดยเฉพาะกับเหล่านักศึกษา...

การเคลื่อนไหวในภาคเหนือในห้วงเวลา 14 ตุลา 2516

เรียบเรียง: กองบรรณาธิการ ความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในช่วง 14 ตุลาคม 2516 ไม่ได้จำกัดอยู่แค่กรุงเทพมหานครแต่เพียงเท่านั้น เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการเมืองไทย ที่ประชาชนก้าวออกมาต่อต้านอำนาจของเผด็จการที่ปกครองประเทศเป็นเวลาร่วม 15 ปี นับตั้งแต่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการรัฐประหารในปี 2501 จนมาถึงการรัฐประหารตนเองของจอมพลถนอม กิตติขจร...

คนเหนือเดือนตุลา: ‘ใบไม้ไหว’ เพลงของ “จรัล มโนเพ็ชร” บาดแผลในความทรงจำในเช้าวันที่ 14 ตุลาคม 2516

เราอาจจะรู้จัก “จรัล มโนเพ็ชร” ในฐานะของศิลปินชาวเชียงใหม่ ผู้ยกระดับให้เพลงภาษาคำเมือง จนพัฒนาแนวเพลงที่เราเรียกกันจนติดปากว่า “โฟล์คซองคำเมือง” ที่ส่งผ่านความทรงจำผ่านเสียงเพลงมาร่วม 4 ทศวรรษ แม้บทเพลงส่วนใหญ่ของจรัลจะมุ่งสื่อสารไปที่สภาพแวดล้อม วิถีและบริบทในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นของคนในพื้นที่ล้านนา แต่ก็มีอยู่ 1 บทเพลงที่จรัลส่งผ่านสำนึกและความรู้สึกที่ท่วมท้นต่อเหตุการณ์ที่รัฐบาลทหารเข้าใช้กำลังในการปราบปรามผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยถนนราชดำเนิน ในเวลาก่อนเที่ยงวันของวันที่ 14 ตุลาคม...

คนเหนือเดือนตุลา: จุฬา-จารีตก่อน 14 ตุลา และความรู้สึกอยากกลับบ้านหลัง 6 ตุลาของธเนศวร์ เจริญเมือง

เรื่อง: วัชรพล นาคเกษม ศ.ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เล่าถึงประสบการณ์ส่วนตัวเพื่อทำความเข้าใจที่มาก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เพื่อทำความเข้าใจบริบทในช่วงเวลานั้น “ตนซึมซับความคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยมาตั้งแต่สมัยเรียนระดับประถม ตั้งแต่อยู่ที่เชียงใหม่ ครอบครัวก็มีความคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยมาอยู่แล้ว แต่หลังจากลงมาเรียนในกรุงเทพฯ ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผมพบเจออำนาจนิยมในรั้วมหาวิทยาลัยที่เข้มข้นมากๆ...

คนเหนือเดือนตุลา: ปาหนัน-จีรวรรณ โสดาวัฒน์ ‘มังกรน้อย’ เบ้าหลอมเยาวชน

เรียบเรียง: วัชรพล นาคเกษม ภาพ: ปรัชญา ไชยแก้ว “ช่วงก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ คุณพ่อเป็นชาวนาธรรมดา ในอำเภอดอยสะเก็ด ชีวิตของชาวนาทั่วไปในภาคเหนือถูกเอาเปรียบจากเจ้าที่ดิน ถ้ามีเงินไม่พอจ่ายค่าเช่า ไม่พอเลี้ยงครอบครัว ชาวนาก็ต้มเหล้าขายเอาเงินมาเลี้ยงลูกเมีย ก็ถูกเจ้าหน้าที่สรรพสามิตไล่จับ เข้าไปเก็บฝืนในป่าเพื่อนำมาเผาถ่านขายก็ถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้ไล่จับอีก เรื่องเหล่านี้เองชาวนาภาคเหนือจึงเป็นผู้คนที่ถูกกดดันจากเจ้าหน้าที่รัฐกับนายทุนอย่างไม่เป็นธรรม” ปาหนัน-จีรวรรณ โสดาวัฒน์...

ความทรงจำเดือนตุลา ความทรงจำแบบทหารผ่านศึก?

เรียบเรียง: ณัฏฐวรรธน์ คล้ายสมมุติ การบรรยายครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของเสวนาในวาระครบรอบ 50 ปี ขบวนการ 14 ตุลาคม 2516 “ย้อนรำลึกประวัติศาสตร์การต่อสู้กึ่งศตวรรษ เดือนตุลา และการเมืองเรื่องของความทรงจำ” ร่วมบรรยายโดย ดิน บัวแดง อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์...

บางความทรงจำถูกตัดตอนและแทนที่ด้วยความว่าง.. เกินจะรับรู้

เราจดจำเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 กันแบบไหน?ไม่ว่าเราจะจดจำแบบไหนหรือสังคมไทยอยากให้จดจำแบบใด แต่อย่าลืมว่านี้ประวัติศาสตร์ในช่วงเวลาแสนสั้นแต่เจ็บลึกไม่มีวันหาย​นี่คือเรื่องเล่านอกกรุงเทพฯและความเจ็บปวดไม่ได้มีอยู่ที่ธรรมศาสตร์เพียงที่เดียว​“คนเหนือเดือนตุลา” หลากเรื่องราวจากปากคำของเหล่าผู้คนภาคเหนือของไทย ที่แม้บางคนอาจจะไม่ได้เกิดในอาณาบริเวณนี้ แต่ต่างมีความทรงจำ ทั้งก่อนการเกิดขึ้นของเหตุการณ์ 14 ตุลา 16...