หน้าแรก
ข่าว
บทความ
เจาะประเด็น
ชุดข้อมูล
สัมภาษณ์
ประวัติศาสตร์&คนล้านนา
กาดหมั้ว
วิดีโอ
ติดต่อเรา
Search
Lanner
พื้นที่สื่อสาร สังคมประชาธิปไตย ชีวิตใหม่ที่ดีกว่า
Lanner
พื้นที่สื่อสาร สังคมประชาธิปไตย ชีวิตใหม่ที่ดีกว่า
Lanner
พื้นที่สื่อสาร สังคมประชาธิปไตย ชีวิตใหม่ที่ดีกว่า
หน้าแรก
ข่าว
บทความ
เจาะประเด็น
ชุดข้อมูล
สัมภาษณ์
ประวัติศาสตร์&คนล้านนา
กาดหมั้ว
วิดีโอ
ติดต่อเรา
Search
Lanner
พื้นที่สื่อสาร สังคมประชาธิปไตย ชีวิตใหม่ที่ดีกว่า
หน้าแรก
ข่าว
บทความ
เจาะประเด็น
ชุดข้อมูล
สัมภาษณ์
ประวัติศาสตร์&คนล้านนา
กาดหมั้ว
วิดีโอ
ติดต่อเรา
Search
คำสำคัญ:
JBB
ความคิดเห็น
ไม่ได้ร้องขอ หากแต่มาเพื่อบอกกล่าว ‘บุญร่มไทร’ คนจนเมืองริมทางรถไฟ ความเจริญที่ข้ามผ่านคนริมขอบ
ช่วงสายของวันธรรมดาทั่วไปในปลายเดือนกุมภาพันธ์ ทุกอย่างดำเนินไปตามครรลองอย่างที่มันควรจะเป็น รถไฟขบวนมหาชน หมายที่ 371 ได้ชะลอความเร็วเพื่อหยุดรับผู้คนเดินทางกลับบ้านสู่ภาคตะวันออก ชานชาลาพญาไท ในเขตราชเทวีแห่งนี้ หากเงยหน้ามองเพียงตึกสูงใหญ่ระฟ้าในกรุงเทพมหานคร คงไม่อาจเห็นชีวิตผู้คนตัวเล็กริมทาง ที่ถูกผลักไสให้ใช้ชีวิตอย่างหลบซ่อนในหลืบเมือง อย่าง ชุมชนบ้านบุญร่มไทร (ภาพ : โยษิตา สินบัว) ชุมชนริมทางรถไฟเขตพญาไท มีผู้คนอาศัยกว่า...
ความคิดเห็น
ตามหาโพรงนกชนหินบนสันเขาฮาลาบาลา ฉบับลูกข้าวนึ่ง
“จะเดินไปดูโพรงมันจริง ๆ เหรอ ตัวโพรงนกชนหินก็ไม่อยู่แล้วนะ ถามจริง!” ก๊ะนะถามย้ำประมาณ 5 รอบพร้อมกับปรายตาดูสภาพที่สวมเพียงรองเท้าแตะของพวกเรา “โอเค ไปก็ไป” ก๊ะนะยืนยันกับแบปา พรานผู้ดูแลโพรงนกชนหิน“นกชนหินนี่มันจะน่าตาเหมือนนกเงือกที่พาพวกลูฟี่ขึ้นไปบน Skypier (เกาะแห่งท้องฟ้าในมังงะเรื่องวันพีช) มั้ยวะมึง” ชาวเหนือที่อาศัยอยู่ในภูมิศาสตร์และภูมิประเทศที่ต่างออกไปเกิดความมึนงงกับความหายากและไม่คุ้นหูของนกเงือกชนิดดังกล่าวเลยขอเรียกทริปสั้น ๆ นี้ว่า...
ความคิดเห็น
บาดแผลไม่มีวันจาง…ความรุนแรงของผู้หญิงผ่านกระบวนการ (อ) ยุติธรรม
เรื่อง ภัทรภร ผ่องอำไพ การเป็นผู้ถูกกระทำจึงทำให้ผู้หญิงที่ถูกล่วงละเมิดลุกขึ้นสู้เพื่อทวงความยุติธรรมที่สมควรได้รับ เรื่องราวของอิซาเบลล่าเป็นตัวอย่างและเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้หญิงที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศอีกเป็นจำนวนมากให้ลุกขึ้นสู้ แต่ปัญหาของผู้หญิงรายอื่นๆ ที่เข้าไม่ถึงความยุติธรรมไม่ใช่เพราะพวกเธอไม่กล้า แต่เป็นเพราะระบบที่กีดกันไม่ให้พวกเธอเข้าถึงสิทธิที่ควรได้รับ “เราเชื่อว่า กระบวนการยุติธรรม สามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้” เสียงของอิซาเบลล่า (นามสมมุติ) ผู้เสียหายชาวกัมพูชาเชื้อสายอังกฤษวัย 20 ปี นักศึกษาต่างชาติในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งของไทยบอกถึงความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม เธอเล่าย้อนเหตุการณ์ที่จะลืมไม่ลงไปตลอดชีวิตว่า เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21...
ความคิดเห็น
มนุษย์ ความเชื่อ ถิ่นที่อยู่ เมื่อสาละวินไม่ใช่แค่แม่น้ำแต่คือจิตวิญญาณของเรา
เรื่อง: ณัฎฐณิชา พลศรี “สาละวินมันเป็นมากกว่าแม่น้ำเฉยๆ เป็นแม่น้ำที่เปรียบเสมือนแม่ของเราที่น้ำนมหยดแรกที่เราดื่มมาจากแม่ของเรา แต่น้ำหยดที่สองที่เราดื่มของน้ำสาละวิน” - ลาหมึทอ ดั่งแดนวิมาน เยาวชนบ้านท่าตาฝั่งริมแม่น้ำสาละวิน - ไม่ว่าจะเป็นอดีตหรือปัจจุบันมนุษย์ก็ยังคงมีความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือสิ่งที่มองไม่เห็นว่ามีอยู่จริง ไม่ว่าจะเป็นเทวดา ผี หรือเทพเจ้า เช่น การเข้าทรงที่สามารถเห็นได้ทั่วโลก เป็นการให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือวิญญาณมาเข้าร่างของร่างทรงเพื่อที่จะติดต่อกับมนุษย์บนโลกซึ่งเป็นการเชื่อมโลกมนุษย์และโลกวิญญาณเข้าด้วยกันผ่านตัวกลางที่เรียกว่าร่างทรง ผู้ที่จะมาเข้าร่างของร่างทรงอาจจะเป็นญาติของใครสักคนหรือเทพตนใดตนหนึ่งก็ได้ บางสังคมมองว่าป่าและแม่น้ำคือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยปกปักรักษาทรัพยากรธรรมชาติเอาไว้ให้มีความอุดมสมบูรณ์ เช่น...
ความคิดเห็น
ครอบครัวที่แหว่งกลาง ชนบทเป็นบ้านร้าง รวยกระจุกในเมืองใหญ่แตกสลายในเมืองเกิด
เรื่อง: ปองภพ ดั่นสมานฉันท์ชัย การโยกย้ายเพื่อหาไปตามหาโอกาสดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่เราทุกคนพอจะเข้าใจได้เสมอ ก็ในเมื่ออยู่ที่เดิม/อยู่แบบเดิมมันไม่มีโอกาส การโยกย้ายไปหาโอกาสในที่ใหม่ๆ คงเป็นปกติวิสัยที่เราทุกคนเลือกจะทำ สำนักงานสถิติแห่งชาติ เผยผลการสำรวจการย้ายถิ่นของประชากร ในปี 2565 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2565 จากผลการสำรวจพบว่า จำนวนผู้ย้ายถิ่นในปี 65 มีจำนวนกว่า 8 แสนคน...
ความคิดเห็น
“ความเจริญอยู่หม๋องได๋” เมื่อแรงงานอีสานพลัดถิ่นในเมืองกรุงฯ ก่อนกลับคืนมาตุภูมิ
เรื่องและภาพ: วิภาวี จุลสำรวล รถไถคู่ใจคันสีส้มกับชายหนุ่มในชุดเสื้อยืด ในลุคเสื้อคลุมลายสก็อต กางเกงยีนส์ขาดๆ แม้แดดเปรี้ยงแต่สายตามุ่งมั่นนั้นกลับพุ่งทยายกลางแปลงเกษตรสีน้ำตาลที่แสนจะโล่งแจ้งเพื่อเตรียมดินก่อนฤดูฝนจะมาเยือน คราบดินที่อาบบนใบหน้าปนกับรอยยิ้มที่แสนจะมีความสุขกับการได้ทำไร่อยู่ที่บ้านตัวเอง เป็นความสุขที่ได้เห็นรอยยิ้มของลูกสาววัยขวบกว่าๆ ยืนให้กำลังใจห่างๆ ขณะดินฟุ้งไปทั่วทุ่ง ความท้าทายของชีวิตกับความคิดที่ถูกแช่แข็ง ย้อนกลับไปเมื่อ 17 ปีที่แล้ว ภานุวัฒน์ พหลทัพ หรือวัฒน์ เด็กหนุ่มวัย 19 ปี...
ข่าว
ความท้าทายของบรรณาธิการหญิงในกระแสสื่อไทย ช่องว่างระหว่างวัย และภัยคุกคามจากรัฐที่ต้องรับมือ
3 พฤศจิกายน ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร มูลนิธิเพื่อการศึกษาและสื่อภาคประชาชนจัดโครงการ Journalism that Builds Bridges (JBB): วารสารศาสตร์ที่สร้างสะพาน เสียงของคนชายขอบเพื่อเชื่อมสัมพันธ์สื่อนอกกระแส มีเสวนาหัวข้อ “ความท้าทายของบรรณาธิการหญิงในกระแสธารสื่อไทย” โดยมีบรรณาธิการหญิงที่มีประสบการณ์ในงานข่าว และผู้เข้าร่วมโครงการ JBB ในฐานะผู้ช่วยบรรณาธิการหญิง/LGBTQI+ ร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น กุลธิดา...
ข่าว
5 สำนักข่าวเชื่อมสะพานสื่อนอกกระแส ย้อนบทเรียนและก้าวต่อไป
เวทีเสวนาถอดบทเรียนการทำงาน “สื่อภาคประชาชน”4 ภูมิภาค “วาร์ตานี” ระบุทุกรัฐบาลมองสื่อ 3 จ.ใต้คือภัยความมั่นคง ลั่นพร้อมท้าชนนำเสนอความจริงในพื้นที่ เตือนรบ.ถ้ามีอคติสันติภาพในพื้นที่ไม่เกิด เชื่อสื่อเป็นสะพานเชื่อมสร้างความเปลี่ยนแปลงสังคมได้ “ตัวแทนประชาไท”มองภัยคุกคามหนักสุดของสื่อคือการ “เซ็นเซอร์ตัวเอง” ส่วน “Lanner”โอดเจ้าหน้าที่รัฐมองสื่อชายขอบไม่ใช่สื่อมืออาชีพ ขณะที่ “เดอะอีสานเรคคอร์ด” ระบุไม่ว่าสื่อใหญ่-เล็กมีสิทธิ์โดนคุกคามหมด...
เจาะประเด็น
เชียงใหม่เมืองไม่มีอนาคต
เรื่อง: นลินี ค้ากำยาน “เรียนจบแล้ว จะไปทำงานที่ไหน” “อยากทำงานอยู่เชียงใหม่ แต่คงอยู่ไม่ได้…” บทสนทนาของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังขึ้นข้างหู ทำให้ฉันตั้งคำถามขึ้นมาว่าทำไมมหาวิทยาลัยที่ผลิตนักศึกษาบัณฑิตเข้าสู่ตลาดแรงงานปีละหลายหมื่นคน แต่ผู้จบการศึกษาจำนวนมากถึงเลือกที่จะไม่อยู่ทำงานในจังหวัดเชียงใหม่ แม้กระทั่งตัวฉันที่กำลังเรียนอยู่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็อาจจะต้องจำใจแบกกระเป๋าเข้าเมืองกรุง เพื่อโอกาสด้านหน้าที่การงานในอนาคต แล้วเมื่อไหร่ความเจริญจะเลิกกระจุกอยู่แค่ที่กรุงเทพ ? เชียงใหม่ ถือเป็นเมืองแห่งมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาที่ได้รับความนิยมจากนักศึกษาทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ ปัจจุบันในเมืองเชียงใหม่มีมหาวิทยาลัยมากถึง 10 แห่ง...
ความคิดเห็น
“Sex Work” ข้ามชาติในเมืองอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเมืองเชียงใหม่
เรื่องและภาพ: จตุพร สุสวดโม้ “ถ้าหนูมีโอกาสเหมือนคนอื่น หนูจะไม่มีวันละทิ้งการเรียน ละทิ้งความฝัน แต่ชีวิตในพม่ามีแต่ความอดยาก ต้องหนีเข้ามาหางานทำที่นี่” หนึ่งในเหตุผลที่หญิงจากรัฐฉานตอนใต้ตัดสินใจหนีเข้ามาทำงานอย่างผิดกฎหมายในประเทศไทย “ก่อนโรคโควิดระบาด ทำงานมีรายได้ 4,000-6,000 ต่อวัน บางวันได้หลักหมื่นบาท เดี๋ยวนี้นะ 3 วันยังไม่ได้สักบาท” นิลาหญิงชาวไทยใหญ่พยายามเปรียบเทียบรายได้ในอดีตกับปัจจุบัน แม้สถานการณ์โรคระบาด...
ความคิดเห็น
อุทัยธานีที่ไม่มีห้าง: สำรวจเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำผ่านการไม่มีห้าง
เรื่อง: ปองภพ ดั่นสมานฉันท์ชัย เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2566 เพจเฟชบุ๊คไทยเล็ดออนไลน์เพจล้อการเมืองชื่อดังโพสข้อความว่า “จังหวัดอุทัยธานีมีห้างไหมครับ” เพื่อล้อเลียนและตั้งคำถามกับนายชาดา ไทยเศรษฐ์ สส.เขต 2 จังหวัดอุทัยธานี สังกัดพรรคภูมิใจไทย หลังการอภิปรายอันดุเดือดของนายชาดาเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม...
ความคิดเห็น
Raise In Peace: เมื่อความตาย “พูดได้” ร้องขอไม่ได้!
เรื่องและภาพ: ภัทรภร ผ่องอำไพ ทำไมความตาย จึงกลายเป็นมิติที่พูดในชีวิตประจำวันได้น้อยมาก และถูกทำให้กลายเป็นเรื่องไกลตัว เป็นเรื่องชวนแสนเศร้าหมองหม่น “เกิด แก่ เจ็บ ตาย” วงจรวิถีชีวิตที่กล่าวได้ว่าอย่างไรเสียก็หนีห่างไม่ได้ จึงต้องมีการวางแผนครอบคลุมค่าใช้จ่ายอย่าง “คุ้มค่า” ตั้งแต่เกิดไปจนเจ็บไข้ได้ป่วย แต่ไฉน ความตาย ถึงไม่แม้จะกล่าวถึง ? เมื่อการเกิดไม่สามารถเลือกได้ด้วยตนเอง ขอใช้สิทธิ์ที่จะ...
กาดหมั้ว
เมื่อกะเทยไปเกณฑ์ทหาร
เรื่อง: นนทพัทธ์ พรหมกาญจน์/ Louder รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนานักสื่อสารทางสังคม ภายใต้โครงการ Journalism that Builds Bridges เผยแพร่ครั้งแรกทางเว็บไซต์ thelouder.co เมื่อวันที่ 5 มี.ค.2566 เมื่อคุณเกิดมามีอวัยวะเพศชายหรือเป็นชายไทยโดยกำเนิดคุณจะถูกกำหนดไว้ในกฎหมายสูงสุดหรือรัฐธรรมนูญว่า “ชายไทยทุกกคนต้องได้เข้ารับการเกณฑ์ทหาร” ซึ่งในทางปฏิบัติพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 กำหนดหน้าที่นี้ให้เฉพาะชายที่มีสัญชาติเป็นไทยตามกฎหมาย “มีหน้าที่ต้องเข้ารับราชการทหารด้วยตนเองทุกคน” ...
ความคิดเห็น
Fast & Fashion ความเร็วที่ฝากวิกฤตเจ็บปวดไม่ตามเทรนด์
เรื่อง: ณัฎฐณิชา พลศรี ในยุคที่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย พร้อมกับโซเชียลมีเดียที่พร้อมจะล่อตาล่อใจผู้คนอยู่เสมอ ยุคที่เราเรียกกันว่า ‘บริโภคนิยม’ ต้องตามเทรนด์ให้ทันอยู่เสมอและมีทุกอย่างที่เป็นกระแสรวมไว้ในครอบครอง รวมไปถึงแฟชั่นด้วย ในปัจจุบัน เทรนด์แฟชั่นมีความรวดเร็วในการเปลี่ยนแปลง ความรวดเร็วนั้นส่งผลกระทบมากมายต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อมไม่ว่าเป็นการกดขี่แรงงาน มลพิษที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมจากโรงงานสิ่งทอ ขยะเสื้อผ้ามากมายจนกลายเป็นภูเขาจากเทรนด์ที่ล้าหลังซึ่งส่งผลกระทบกับคนในพื้นที่รวมไปถึงโลกทั้งใบ การแต่งตัวตามสมัยนิยมนั้นเป็นความสวยงามในรูปแบบหนึ่งของมนุษย์ หรือที่เรียกอีกชื่อว่า ‘แฟชั่น’ นั้น มีการเปลี่ยนแปลงเทรนด์ไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน...
ความคิดเห็น
ช้างม่อย : ย่านประวัติศาสตร์ที่ถูกเปลี่ยนด้วยชีวิต
เรื่องและภาพ: นลินี ค้ากำยาน ‘ช้างม่อย’ ชื่อถนนที่คุ้นหูสำหรับนักท่องเที่ยว จากชุมชนเล็ก ๆ ที่เงียบสงบ สู่ชุมชนการค้าและถนนศูนย์รวมกิจการของคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน ถนนเส้นดังกล่าวเปรียบเสมือนประตูเชื่อมผู้คนไปสู่กาดหลวง ตลาดขนาดใหญ่อายุมากกว่า 100 ปี จึงทำให้ถนนเส้นนี้มีรถผ่านไปมาอย่างไม่ขาดสาย สองข้างทางต่างเต็มไปด้วยอาคารที่พัก ร้านค้า อาคารแบบยุโรป อาคารเรือนไม้และเรือนแถว...