หน้าแรก
ข่าว
บทความ
เจาะประเด็น
ชุดข้อมูล
สัมภาษณ์
ประวัติศาสตร์&คนล้านนา
กาดหมั้ว
วิดีโอ
ติดต่อเรา
Search
Lanner
พื้นที่สื่อสาร สังคมประชาธิปไตย ชีวิตใหม่ที่ดีกว่า
Lanner
พื้นที่สื่อสาร สังคมประชาธิปไตย ชีวิตใหม่ที่ดีกว่า
Lanner
พื้นที่สื่อสาร สังคมประชาธิปไตย ชีวิตใหม่ที่ดีกว่า
หน้าแรก
ข่าว
บทความ
เจาะประเด็น
ชุดข้อมูล
สัมภาษณ์
ประวัติศาสตร์&คนล้านนา
กาดหมั้ว
วิดีโอ
ติดต่อเรา
Search
Lanner
พื้นที่สื่อสาร สังคมประชาธิปไตย ชีวิตใหม่ที่ดีกว่า
หน้าแรก
ข่าว
บทความ
เจาะประเด็น
ชุดข้อมูล
สัมภาษณ์
ประวัติศาสตร์&คนล้านนา
กาดหมั้ว
วิดีโอ
ติดต่อเรา
Search
คำสำคัญ:
Journalism that Builds Bridges (JBB)
สัมภาษณ์
“ชาติพันธุ์ก็คือคน” ความฝันกะเบอะดิน
“เราเชื่อว่าถ้าชุมชนเข้มแข็ง มีความฝันร่วมกันและยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่เอาเหมือง เขาก็ไม่สามารถทำอะไรได้อยู่แล้วเพราะเขาไม่ใช่เจ้าของพื้นที่ เราโดนพูดอยู่เสมอว่าเราสู้เขาไม่ได้หรอก เขาเป็นคนใหญ่คนโต มีเงินมีอำนาจ ที่เขาพูดมามันจริงหมดเลย แต่เราก็เป็นคนที่มีสิทธิ์เหมือนกัน ถึงแม้เราไม่มีอะไร เราก็เป็นคนหนึ่งที่อาศัยอยู่พื้นที่นี้ตั้งแต่เกิด ถ้าเราสามารถปกป้องพื้นที่ตรงนี้ได้ เราก็จะทำ” พรชิตา ฟ้าประทานไพร หรือ ดวง เยาวชนผู้ต่อสู้เพื่อสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองกะเหรี่ยงโปว์และการจัดการทรัพยากร จากหมู่บ้านกะเบอะดิน...
ความคิดเห็น
ตามหาโพรงนกชนหินบนสันเขาฮาลาบาลา ฉบับลูกข้าวนึ่ง
“จะเดินไปดูโพรงมันจริง ๆ เหรอ ตัวโพรงนกชนหินก็ไม่อยู่แล้วนะ ถามจริง!” ก๊ะนะถามย้ำประมาณ 5 รอบพร้อมกับปรายตาดูสภาพที่สวมเพียงรองเท้าแตะของพวกเรา “โอเค ไปก็ไป” ก๊ะนะยืนยันกับแบปา พรานผู้ดูแลโพรงนกชนหิน“นกชนหินนี่มันจะน่าตาเหมือนนกเงือกที่พาพวกลูฟี่ขึ้นไปบน Skypier (เกาะแห่งท้องฟ้าในมังงะเรื่องวันพีช) มั้ยวะมึง” ชาวเหนือที่อาศัยอยู่ในภูมิศาสตร์และภูมิประเทศที่ต่างออกไปเกิดความมึนงงกับความหายากและไม่คุ้นหูของนกเงือกชนิดดังกล่าวเลยขอเรียกทริปสั้น ๆ นี้ว่า...
เจาะประเด็น
เชียงใหม่เมืองไม่มีอนาคต
เรื่อง: นลินี ค้ากำยาน “เรียนจบแล้ว จะไปทำงานที่ไหน” “อยากทำงานอยู่เชียงใหม่ แต่คงอยู่ไม่ได้…” บทสนทนาของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังขึ้นข้างหู ทำให้ฉันตั้งคำถามขึ้นมาว่าทำไมมหาวิทยาลัยที่ผลิตนักศึกษาบัณฑิตเข้าสู่ตลาดแรงงานปีละหลายหมื่นคน แต่ผู้จบการศึกษาจำนวนมากถึงเลือกที่จะไม่อยู่ทำงานในจังหวัดเชียงใหม่ แม้กระทั่งตัวฉันที่กำลังเรียนอยู่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็อาจจะต้องจำใจแบกกระเป๋าเข้าเมืองกรุง เพื่อโอกาสด้านหน้าที่การงานในอนาคต แล้วเมื่อไหร่ความเจริญจะเลิกกระจุกอยู่แค่ที่กรุงเทพ ? เชียงใหม่ ถือเป็นเมืองแห่งมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาที่ได้รับความนิยมจากนักศึกษาทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ ปัจจุบันในเมืองเชียงใหม่มีมหาวิทยาลัยมากถึง 10 แห่ง...
ความคิดเห็น
อุทัยธานีที่ไม่มีห้าง: สำรวจเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำผ่านการไม่มีห้าง
เรื่อง: ปองภพ ดั่นสมานฉันท์ชัย เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2566 เพจเฟชบุ๊คไทยเล็ดออนไลน์เพจล้อการเมืองชื่อดังโพสข้อความว่า “จังหวัดอุทัยธานีมีห้างไหมครับ” เพื่อล้อเลียนและตั้งคำถามกับนายชาดา ไทยเศรษฐ์ สส.เขต 2 จังหวัดอุทัยธานี สังกัดพรรคภูมิใจไทย หลังการอภิปรายอันดุเดือดของนายชาดาเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม...
ความคิดเห็น
เราคือคณะก่อการล้านนาใหม่ นี่คือการเรียกคืนสิทธิจัดการตนเองจากรัฐผู้ฉกฉวย
เรื่องและภาพ: ณัฐชลี สิงสาวแห “คณะก่อการล้านนาใหม่” ก่อกำเนิดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ที่ซึ่งถูกเรียกว่าภาคเหนือ ผืนดินที่อยู่ทาง “ทิศเหนือของกรุงเทพฯ” เมืองหลวงแห่งประเทศไทย พื้นที่แห่งนี้เต็มไปด้วยภูเขา ป่าไม้ แม่น้ำ ทรัพยากรธรรมชาติ และชนเผ่าพื้นเมืองที่ถูกกีดกันจากทรัพยากรพื้นฐานในการดำรงชีพซึ่งถูกครอบครองโดยกลุ่มชนชั้นนำกลุ่มเล็กๆ พวกเขารวมกลุ่มกันเพื่อบอกว่าการรวมอำนาจตัดสินใจทางนโยบายหรือการออกกฎหมายจากชนชั้นนำได้ลิดรอนสิทธิตามรัฐธรรมนูญของพวกเขาและพวกเขาไม่ปรารถนาการลิดรอนสิทธิเช่นนั้น ทรัพยากรอันอุดม เมื่ออยู่ในมือของผู้มีอำนาจจากส่วนกลางทำให้อำนาจในการจัดการตนเองหลุดออกจากมือของพวกเขาทีละน้อย แม้จะลุกขึ้นประท้วงแสดงออกว่าไม่สยบยอมต่อชะตากรรมที่ถูกหยิบยื่นให้ แม้จะลุกขึ้นสู้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าต่อผู้ฉกฉวย...
ความคิดเห็น
“สภาพลเมือง” จากผู้ชมข้างสนามสู่ผู้เล่นตัวจริงในสนามกระจายอำนาจ
เรื่อง: กิตติโบ้ พันธภาค หากประชาธิปไตยเปรียบเสมือน “เส้นขอบฟ้า” การพยายามค้นหา “เครื่องมือ” เพื่อมุ่งไปหามันจึงเป็นที่สิ่งสำคัญ ทว่าบางเครื่องมืออาจทำให้เราจินตนาการไปว่ามันพาได้เราไปถึงจุดหมายแล้ว แต่ไม่เลย มันอาจเพียงแค่พาเราขยับเข้าใกล้เส้นขอบฟ้าเท่านั้น ซึ่งยังไม่ถึงเป้าหมาย และเรายังสามารถไปไกลได้มากกว่านี้ ระบบรัฐสภาหรือการเลือกตั้งก็เช่นกัน มันเป็นเพียงหนึ่งในหลายเครื่องมือที่พาสังคมขยับเข้าใกล้ประชาธิปไตย แต่ไม่ใช่เครื่องมือสุดท้ายที่จะพาเราไปถึงเป้าหมายอย่างสังคมประชาธิปไตยหรือเส้นขอบฟ้า ‘Lanner’ ชวนทำความรู้จักอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะพาสังคมขยับเข้าใกล้ประชาธิปไตยมากขึ้น นั่นคือ “สภาประชาชน”...
ความคิดเห็น
Raise In Peace: เมื่อความตาย “พูดได้” ร้องขอไม่ได้!
เรื่องและภาพ: ภัทรภร ผ่องอำไพ ทำไมความตาย จึงกลายเป็นมิติที่พูดในชีวิตประจำวันได้น้อยมาก และถูกทำให้กลายเป็นเรื่องไกลตัว เป็นเรื่องชวนแสนเศร้าหมองหม่น “เกิด แก่ เจ็บ ตาย” วงจรวิถีชีวิตที่กล่าวได้ว่าอย่างไรเสียก็หนีห่างไม่ได้ จึงต้องมีการวางแผนครอบคลุมค่าใช้จ่ายอย่าง “คุ้มค่า” ตั้งแต่เกิดไปจนเจ็บไข้ได้ป่วย แต่ไฉน ความตาย ถึงไม่แม้จะกล่าวถึง ? เมื่อการเกิดไม่สามารถเลือกได้ด้วยตนเอง ขอใช้สิทธิ์ที่จะ...
ความคิดเห็น
MOTHERHOOD & RIVERHOOD ลัทธิเสรีนิยมสมัยใหม่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ความเป็นแม่น้ำ (Riverhood) อยู่ตรงไหนบนเรื่องนี้
เรื่อง: ปภาวิน พุทธวรรณะ ปรากฏการณ์การลงทุนข้ามพรมแดนอย่าง เขื่อนลาวสัญชาติไทย การศึกษาตัวเลขที่เหมาะสมของกระแสไฟฟ้าสำรองอยู่ร้อยละ 15 แต่ช่วงขวบปีที่ผ่านว่าพบว่า ประเทศไทยมีปริมาณไฟฟ้าสำรองล้นในระบบมากถึงร้อย ๕๐ ซึ่งนับว่ามากกว่าค่าเดิมถึง 3 เท่า ไม่วายภาครัฐอัพราคาจากที่ซื้อมาจากเขื่อน 2 แห่งใน สปป.ลาว เฉลี่ยที่...
กาดหมั้ว
ขยะของคุณ คือทองคำของเรา: รู้จักบ้านนาแก้ว หมู่บ้านค้าของเก่าใหญ่สุดในอีสานใต้
เรื่อง: ทรงวุฒิ จุลละนันท์ /Citizen Reporter จาก The Isaan Record รายงานชิ้นนี้อยู่ภายใต้โครงการ Journalism that Builds Bridges เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ 1 มี.ค. 2566 ทางเว็บไซต์ The...
กาดหมั้ว
เปิดปมศาลไม่ให้ประกัน ‘ทะลุแก๊ส’ เมื่อความรุนแรง-การเมือง เป็นเรื่องเดียวกัน
เรื่อง: วรัญชัย เจริญโชติ และโยษิตา สินบัว ภาพปก: แมวส้ม รายงานชิ้นนี้อยู่ภายใต้โครงการ Journalism that Builds Bridges เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ 23 ม.ค. 2566 ทางเว็บไซต์ ประชาไท หากได้ยืนสัมผัสลมหนาวที่แยกดินแดงในปลายปี 2565 คงนึกไม่ออกว่าเมื่อหลายเดือนที่ผ่านมา พื้นที่ตรงนี้เคยเป็นสมรภูมิเดือดของกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองกลุ่มหนึ่งที่ทุกคนรู้จักในนาม...
กาดหมั้ว
สี่แยกไฟแดงมีนักเรียนขายนมเปรี้ยว
เรื่อง: ปิยราชรัตน์ พรรณขาม รายงานชิ้นนี้อยู่ภายใต้โครงการ Journalism that Builds Bridges เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ 19 ก.พ. 2566 ทางเว็บไซต์ Louder ภาพนักเรียนเดินขายนมเปรี้ยวตามสี่แยกไฟแดงกลายเป็นสิ่งปกติในปัจจุบัน ท่ามกลางความเสี่ยงทั้งจากอุบัติเหตุบนท้องถนน จากโรคระบาดและมลพิษจากฝุ่นควัน แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจทำให้พวกเธอต้องทำงานขายเพื่อแลกกับเงิน ทั้งเพื่อแบ่งเบาภาระของครอบครัวและเพื่อตัวเอง แต่ละวัน พวกเธอไม่สามารถคาดเดารายได้และจะต้องพบเจอกับประสบการณ์ทั้งดีและไม่ดีที่นักเรียกขายนมเปรี้ยวได้ประสบมา ที่สี่แยกหลักของถนนเลี่ยงเมืองอุบลราชธานี...
ความคิดเห็น
Fast & Fashion ความเร็วที่ฝากวิกฤตเจ็บปวดไม่ตามเทรนด์
เรื่อง: ณัฎฐณิชา พลศรี ในยุคที่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย พร้อมกับโซเชียลมีเดียที่พร้อมจะล่อตาล่อใจผู้คนอยู่เสมอ ยุคที่เราเรียกกันว่า ‘บริโภคนิยม’ ต้องตามเทรนด์ให้ทันอยู่เสมอและมีทุกอย่างที่เป็นกระแสรวมไว้ในครอบครอง รวมไปถึงแฟชั่นด้วย ในปัจจุบัน เทรนด์แฟชั่นมีความรวดเร็วในการเปลี่ยนแปลง ความรวดเร็วนั้นส่งผลกระทบมากมายต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อมไม่ว่าเป็นการกดขี่แรงงาน มลพิษที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมจากโรงงานสิ่งทอ ขยะเสื้อผ้ามากมายจนกลายเป็นภูเขาจากเทรนด์ที่ล้าหลังซึ่งส่งผลกระทบกับคนในพื้นที่รวมไปถึงโลกทั้งใบ การแต่งตัวตามสมัยนิยมนั้นเป็นความสวยงามในรูปแบบหนึ่งของมนุษย์ หรือที่เรียกอีกชื่อว่า ‘แฟชั่น’ นั้น มีการเปลี่ยนแปลงเทรนด์ไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน...
ความคิดเห็น
ราคาที่ต้องจ่ายกับการออกมาเคลื่อนไหว
เรื่อง: วรรณพร หุตะโกวิท ตั้งแต่ปี 2563 การเคลื่อนไหวทางการเมืองได้ปรากฎเป็นประจักษ์ขึ้นว่าประเทศไทยอาจไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป เริ่มจากพรรคอนาคตใหม่ถูกคำสั่งยุบพรรค รวมทั้งปัญหาของรัฐบาลประยุทธ์ที่ไม่สามารถจัดการกับวิกฤต Covid-19 ได้อย่างที่ควรจะเป็น การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร เพื่อควบคุมและป้องกันโรค Covid-19 ของรัฐบาลก็ไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด เกิดปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาเหลื่อมล้ำชัดเจนขึ้นในทุกมุมเมือง จนนำไปสู่การเรียกร้องประชาธิปไตย การขับไล่รัฐบาลที่เป็นมรดกของการรัฐประหาร...
คนล้านนา
ล้านนาผู้ถูกกลืนเข้าสู่การปกครองด้วยภาษา
เรื่องและภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี การหลอมรวมรัฐในพื้นที่ดินแดนล้านนากำลังก่อตัวขึ้น เป้าหมายสำคัญที่สุดของรัฐสยาม คือ การสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือที่เรียกกันว่าเป็นการสร้าง “ความเป็นไทย” หากแต่ตอนนั้นสยามยังมีมุมมองต่อล้านนาในลักษณะเป็นอื่น เหตุเพราะไม่มีความใกล้ชิดผูกพัน อีกทั้งสื่อสารกันด้วยภาษาที่ไม่เข้าใจ และลึก ๆ นั้น ยังมองล้านนาเป็นคนที่แตกต่าง ไม่เหมือนกับสยาม ดังนั้นการที่จะเข้ามาปกครองพื้นที่นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ...
ความคิดเห็น
ช้างม่อย : ย่านประวัติศาสตร์ที่ถูกเปลี่ยนด้วยชีวิต
เรื่องและภาพ: นลินี ค้ากำยาน ‘ช้างม่อย’ ชื่อถนนที่คุ้นหูสำหรับนักท่องเที่ยว จากชุมชนเล็ก ๆ ที่เงียบสงบ สู่ชุมชนการค้าและถนนศูนย์รวมกิจการของคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน ถนนเส้นดังกล่าวเปรียบเสมือนประตูเชื่อมผู้คนไปสู่กาดหลวง ตลาดขนาดใหญ่อายุมากกว่า 100 ปี จึงทำให้ถนนเส้นนี้มีรถผ่านไปมาอย่างไม่ขาดสาย สองข้างทางต่างเต็มไปด้วยอาคารที่พัก ร้านค้า อาคารแบบยุโรป อาคารเรือนไม้และเรือนแถว...