คำสำคัญ: Lanna symposium

การขยายอำนาจรัฐสยามในอาณาบริเวณล้านนา: กรณีศึกษาการบังคับใช้กฎหมาย การปกครองคณะสงฆ์

ช่วงทศวรรษที่ 2440 นับว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสยามกับอาณาบริเวณล้านนา เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวเป็นหมุดหมายของการทำความเข้าใจการผนวกรวมหรือยึดเอาล้านนาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสยามที่เพิ่งก่อตัวขึ้นมา นัยของการศึกษาความสัมพันธ์ดังกล่าวอาจปรากฏในลักษณะของการศึกษาความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ เครือข่ายความสัมพันธ์ของชนชั้นนำ การศึกษา และการเข้ามาของวิทยาการสมัยใหม่  อย่างไรก็ดี พื้นที่หนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับล้านนาที่มีความน่าสนใจในการศึกษา แต่กลับมีการศึกษาถึงน้อยคือ การศึกษาความสัมพันธ์ในแง่ของกฎหมาย เนื่องจากการผูกขาดอำนาจในการใช้ความรุนแรง (physical violence) เป็นคุณสมบัติสำคัญของชุมชนการเมืองที่เรียกว่ารัฐ (แม็กซ์...

เวียงแก้ว : พระราชวังล้านนา คุกข่มดวงเมือง และมรดกโลกที่ยังมาไม่ถึง

*บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เรื่อง การศึกษาเครือข่ายการประกอบสร้างความรู้ทางโบราณคดีภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  หลายคนอาจเคยสัญจรผ่านพื้นที่รกร้างขนาดใหญ่กลางเมืองเชียงใหม่ใกล้กับอนุสาวรีย์สามกษัตริย์  ด้านข้างของอำเภอเก่าแล้วนึกสงสัยว่าพื้นที่แห่งนี้คืออะไร เหตุใดยังไม่ถูกจับจองก่อสร้างเพื่อใช้ประโยชน์ สภาพปัจจุบันนั้นรกร้าง ถูกตีปิดด้วยสังกะสีทุกด้าน มองเห็นเพียงอาคารเก่า ๆ ที่มีหน้าต่างเป็นซี่ลูกกรง ประตูไม้หนา หนัก และหอสังเกตการณ์ที่ยังพอทำให้ทราบได้ว่าที่นี่เคยเป็นคุกมาก่อน ประวัติของพื้นที่นี้แต่เดิมเคยเป็นที่ตั้งของทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ ตั้งอยู่ในบริเวณที่เชื่อว่าเป็นที่ตั้งของคุ้มหลวงเวียงแก้ว...

แม่แจ่มที่เพิ่งสร้าง: การเผยตัวของชุมชนแม่แจ่มในฐานะชุมชนทางวัฒนธรรม

บทนำ มรดกทางการเมืองหลังสงครามเย็น นอกจากแม่แจ่มจะเป็นพื้นที่สีชมพูในการจัดการของรัฐไทยต่อขบวนการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยแล้ว ยังเป็นพื้นที่ที่รัฐไทยเข้ามามีอำนาจในการจัดการทรัพยากรในแม่แจ่มด้วย ไม่ว่าจะเป็นโครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่แจ่ม การส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจโดยโครงการของรัฐ การขยายระบบสาธารณูปโภคและเปิดโอกาสให้ระบอบทุนเข้ามามีบทบาทในการจัดการทรัพยากรด้วย ในห้วงเวลาใกล้เคียงกันคือราวปลายทศวรรษ 2530 ภายใต้บริบทวาระครบรอบเชียงใหม่ 700 ปี ภาคประชาสังคมในเชียงใหม่จึงหยิบยืมชุดความคิดเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผสานกับกระแสโลกาภิวัตน์หลังวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 หรือเป็นที่รู้จักกันในเครือข่ายสืบสานล้านนา จนกระทั่งก่อตั้งโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนาขึ้น ภายใต้กิจกรรมภูมิปัญญาล้านนาของเครือข่ายโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา กลุ่มนักพัฒนาเอกชนที่สนใจด้านภูมิปัญญาจัดกิจกรรม...